week9

วัน
รูปแบบกิจกรรม
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ  อุปกรณ์
จันทร์

- เห็นความเป็นมายาที่ซ้อนอยู่ในจักรวาลที่มนุษย์ สมมุติให้เกิดขึ้น 
- เห็นความจริงที่มีอยู่ในจักรวาล ว่าทุกสิ่งไม่มีอยู่จริง (เรามีอยู่จริงเพราะมีสิ่งอื่นมองเห็นเรา)
- กำกับสติ  มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
 - ใคร่ครวญ  เห็นความเชื่อมโยงเห็นคุณค่าของตัวเอง ผู้อื่น หรือสิ่งของ
ชื่อกิจกรรม : ตัวเลข
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ร่วมกันพร้อมทำสมาธิด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง ประมาณ 2 นาที
ขั้นกิจกรรม : ครูแจกกระดาษให้นักเรียนแต่ละคน (ในช่วงการส่งสิ่งของ แต่ละคนจะรับไหว้ซึ่งกันและกันเพื่อเป็นการขอบคุณ และเคารพให้เกียรติกันอย่างนอบน้อม)
- นักเรียนเลือกเขียนตัวเลข 0-9 โดยเลือกหนึ่งตัว ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับตัวเรา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “   ตัวเลขมีอิทธิพลกับตัวเราอย่างไร ? ”
- นักเรียนวาดภาพตัวเลขที่คิดว่ามีอิทธิต่อตนเองและต่อเติมตัวเลขนั้นให้เป็นภาพที่บ่งบอกถึงตัวตนของเรา
- สุ่มนักเรียนแสดงภาพให้ดู แล้วให้เพื่อนในห้องเป็นคนบอกว่าเห็นภาพอะไร เห็นแล้วนึกถึงอะไร ? ( ไม่ต้องเฉลยว่าเป็นตัวเลขอะไร )
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีวิธีสังเกตหรือคาดเดาอย่างไรว่าเพื่อนเขียนเลขอะไร และสื่อถึงอะไร (นอกจากคนที่อยู่ข้างๆ)
- “ในชีวิตจริงๆของเรา นักเรียนมีโอกาสเข้าใจผิดเกี่ยวสิ่งต่างๆหรือไม่ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ นักเรียนควรตัดสินทันทีที่เห็นไหม?”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้?” ให้เขียนลงในกระดาษพร้อมนำเสนอ
ขั้นจบ: ครู Empowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกันขอบคุณเรื่องราวดีๆ ขอบคุณทุกสรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกัน

ตัวเลข
กระดาษ
ปากกา
อังคาร
การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ (รำกระบอง)
- การเคลื่อนไหวร่างกาย
- กำหนดลมหายใจ
- สมาธิ
-  สติจ่อกับตัวเอง
- ฝึกการควบคุมร่างกายและจิตใจ
- เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
โยคะ
ขั้นเตรียม :
- นักเรียนยืนกำกับสติด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกของตัวเองหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆ ประมาณ 3 ครั้ง คุณคุณครูเปิดเพลงสปา คลอเบาๆ 
ขั้นกิจกรรม :
 - คุณคุณครูพานักเรียนยืดหยุ่นร่างกายนักเรียนยืนโดยการกางขาออกจากกันเล็กน้อยให้อยู่ระหว่างตรงกันกับไหล
    - กางแขนทั้ง ข้างออกแล้วยืนไปข้างหลังคุณคุณครูนับ 1 - 5
    - มือทั้ง ข้างจับที่ไหลแล้วหมุน  10 ครั้ง
    - หมุนคอ  5 ครั้ง
    - สะบัดข้อมือข้อเท้า ข้างละ  5  ครั้ง
- คุณคุณครูให้นักเรียนกลับมายืนในท่าที่มั่นคงและสำรวจความพร้อมของตัวเองอย่างมีสติ
- คุณคุณครูพานักเรียนทำท่าโยคะโดยนักเรียนกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ รับรู้ที่ลมหายใจของตัวเองเสมอ
จากนั้นเริ่มท่าโยคะ
ท่าที่  1  ท่าไหว้พระอาทิตย์
ท่าที่ 2  ท่าภูเขา
ท่าที่  ท่าต้นไม้
ท่าที่ 4  ท่าเก้าอี้ ขา
ท่าที่ 5  เก้าอี้  1  ขา
ท่าที่ 6  ท่าจระเข้
ท่าที่ 7  ท่างูใหญ่
ท่าที่  8  ท่าคันธนู
ท่าที่  9  ท่าตั๊กแตน
ท่าที่ 10 ท่าศพ นอนเป็นปลาดาว (Body scan)
ขั้นจบ :
คุณคุณครู Empower ด้วยการขอบคุณความตั้งใจ   ขอบคุณกันและกัน
- เพลงโยคะ
พุธ
ศิลปะ ดนตรี
- เกิดทักษะในการสื่อสาร
- สมาธิ
- สติรู้ตัวเองอยู่เสมอ
- จินตนาการเชื่อมโยงกับตัวเองและสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเอง
- คิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ดลตรีดลใจ
ขั้นเตรียม :
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม/คุณคุณครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- คุณคุณครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตาลงเบาๆ อย่างมีสติอยู่กับตัวเอง รับรู้ลมหายใจลมหายใจของตัวเอง หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆประมาณ นาที
ขั้นกิจกรรม :
- คุณคุณครูแจกกระดาษ A4  ให้นักเรียนทุกคน คนละ 1แผ่น ขณะส่งกระดาษนักเรียนรับไหว้กันอย่างนอบน้อม
- คุณคุณครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบทเพลงให้นักเรียนฟังจากนั้น คุณคุณครูให้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร
- คุณคุณครูแนะนำบทเพลงรางวัลแด่คนช่างฝัน และนำเนื้อเพลงมาวางไว้ข้างๆ ตัวคุณคุณครูพอที่นักเรียนจะมองเห็น คุณคุณครูพานักเรียนร้องเพลงก่อน รอบ
- คุณคุณครู นักเรียนช่วยกันร้องเพลงรางวัลแด่คนช่างฝัน
- เมื่อเพลงจบ คุณคุณครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร  นักเรียนคิดว่าผู้แต่งอยากสื่อสารอะไรกับผู้ฟัง”
- นักเรียนถ่ายทอดเรื่องราวตามจินตนาการของตัวเองผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เช่นเรื่องราว  การ์ตูนช่อง  ภาพวาด
- คุณคุณครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนชิ้นงานซึ่งกันและกัน ขณะที่แลกเปลี่ยนคุณคุณครู Empowerนักเรียนที่ถ่ายทอดและนักเรียนที่รับฟังเรื่องของเพื่อน
-  นักเรียนเก็บชิ้นงานต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงคุณคุณครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ :
คุณคุณครูนักเรียนส่งกำลังใจโดยการจับมือเพื่อนต่อกัน ขอบคุณบทเพลง  ขอบคุณเรื่องราวที่ถ่ายทอด ขอบคุณกันและกัน

- เนื้อเพลง
- เพลงสปา
พฤหัสบดี
วรรณกรรม  นิทาน  เรื่องเล่า  ประสบการณ์
- สร้างจินตนาการ
- ฝึกสมาธิ
- มีสติอยู่กับตัวเอง 
- เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงตนเองกับสิ่งต่างๆ
ถ่ายทดเรื่องราวผ่านบทกวีลูกแม่ 
ขั้นนำ :
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม/คุณคุณครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- คุณคุณครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตาลงเบาๆ อย่างมีสติอยู่กับตัวเอง รับรู้ลมหายใจลมหายใจของตัวเอง หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆประมาณ นาที
ขั้นกิจกรรม :
- คุณคุณครูแจกกระดาษครึ่งกระดาษ A4 ให้นักเรียนคนละ 1  แผ่น ขณะที่ส่งนักเรียนรับไหว้ขอบคุณกันอย่างนอบน้อม
- คุณคุณครูแนะนำบทกวีลูกแม่  ของ นักเรียน วีระ  สุดสังข์   อ่านให้นักเรียนฟังในขณะที่ฟังคุณคุณครู Empower ชื่นชม นักเรียนที่ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ
- เมื่อคุณคุณครูอ่านจบ คุณคุณครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่ากวีลูกแม่ ผู้แต่งบทกวีต้องการสื่อความหมายถึงอะไร คุณคุณครูให้เวลา  5 นาทีให้นักเรียนแต่งบทกวีของตัวเอง
- คุณคุณครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนบทกวีที่มีความหมาย
ขั้นจบ :
คุณคุณครู Empower ชื่นชม ขอบคุณผู้แต่งบทกวี ขอบคุณบทกวีที่นักเรียนแต่ง  ขอบคุณกันและกัน
- บทกวี
- เพลงสปา
ศุกร์
วัสดุธรรมชาติ  สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ
- สติ  
เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งรอบตัว
- ฝึกการคิดเชื่อมโยง
สัมผัสมิติที่ฉันมองเห็น
ขั้นเตรียม :
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม/คุณคุณครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- คุณคุณครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตาลงเบาๆ อย่างมีสติอยู่กับตัวเอง รับรู้ลมหายใจลมหายใจของตัวเอง หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆประมาณ นาที
ขั้นกิจกรรม :
- คุณคุณครูนำแก้วน้ำ กับช้อนที่วางอยู่ข้างในแก้ววางไว้กลางวงกลม จากนั้นคุณคุณครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร  นักเรียนรู้สึกอย่างไร
- คุณคุณครูแจกกระดาษครึ่ง A 4 ให้นักเรียน ขณะที่ส่งกระดาษนักเรียนไหว้ขอบคุณกันอย่างนอบน้อม
- คุณคุณครูให้นักเรียนสังเกตแก้วน้ำที่วางอยูกลางห้องผ่านมิติการมองเห็นของตนเองผ่านมุม มุมหนึ่ง ที่แตกต่างจากเพื่อน จากนั้นคุณคุณครูให้นักเรียนวาดภาพแก้วน้ำในมุมที่มองเห็นต่างกัน
- คุณคุณครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าแก้วน้ำเหมือนหรือแตกต่างกับตัวเราอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้
- คุณคุณครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องราวซึ่งกันและกัน
ขั้นจบ :
Empowerชื่นชม ขอบคุณแก้วน้ำ  ขอบคุณเรื่องราว  ขอบคุณกันและกัน
- แก้ว
- ช้อน
- กระดาษ
- เพลงสปา

  ประมวลภาพกิจกรรม
ขั้นนำ 

ขั้นกิจกรรม





ขั้นจบ
 ขอบคุณซึ่งกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น